จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของ
ประเทศไทย (ทางชายฝั่ง
ทะเลอันดามัน) คำว่า
สตูล มาจากคำ
ภาษามลายูว่า
สโตย แปลว่า
กระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง
นครสโตยมำบังสการา (
มาเลย์:
Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า
สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา[3] ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้
ในยุค
รัตนโกสินทร์ตอนต้น สตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งในเขต
เมืองไทรบุรี ประวัติความเป็นมาของเมืองสตูลจึงเกี่ยวข้องกับไทรบุรี ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่า
"ตามเนื้อความที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น
พวกเมืองไทรเห็นจะแยกกันเป็นสองพวกคือ พวกเจ้าพระยาไทรปะแงรันพวกหนึ่ง
และพระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมือง
นครศรีธรรมราช
โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราชได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล
ซึ่งเขตแดนติดต่อกับนครศรีธรรมราชมากกว่าเมืองไทร
แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้สองปีก็ถึงแก่อนิจกรรม
ผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูลต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่
แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง
เข้าใจว่าเชื้อพระวงศ์ของพระอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูล
และฟังบังคับบัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราชอย่างครั้งพระยาอภัยนุราช
หรือยิ่งกว่านั้น"